ชนิดของหน่วยไดรฟ์
ถ้าหากกรวยของลำโพงจะต้องผลิตเสียงสูงออกมาตัวมันจะต้องมีน้ำหนักเบามากพอจนสั่นตัวเองได้อย่างรวดเร็ว ซึ่งเรื่องนี้จะกลายเป็นปัญหาขัดแย้งกันเมื่อต้องการให้มันผลิตความถี่ต่ำๆ ออกมาซึ่งจะต้องใช้กรวยของลำโพงที่มีขนาดโตมากพอเพื่อให้มันขับดันปริมาตรของอากาศจำนวนมากๆ เพื่อผลิตระดับของเสียงในความถี่ต่ำๆ ให้ได้มากพอ ยิ่งไปกว่านั้นกรวยจะต้องมีความแข็งเพราะถ้าหกว่ามันอ่อนตัวขณะเคลื่อนทีไปข้างหน้าหรือถอยหลังผลที่เกิดขึ้นมากก็คือจะมีความเพี้ยนของเสียงเกิดขึ้น ดังนั้นปัจจุบันจึงเป็นเรื่องที่ยอมรับกันโดยทั่วๆ ไปว่าเป็นเรื่องเป็นไปได้ในการสร้างหน่วยไดรฟ์เพียงหน่วยเดียวเพื่อให้สามารถผลิตความถี่ได้ตลอดย่านความถี่ของเสียง
ดังนั้นวิธีแก้ปัญหาก็คือต้องแบ่งย่านความถี่ของสัญญาณเสียงออกเป็นช่วงๆ โดยป้อนความถี่ต่ำเข้าไปยังลำโพงเสียงเบสซึ่งเป็นลำโพงขนาดใหญ่แข็งแรงในขณะที่ให้ความถี่สูงๆ ป้อนเข้าไปให้หน่วยไดรฟ์ทรีเบิ้ลทำงาน หน่วยทรีเบิ้ลมีขนาดเล็กและกรวยของมันหรือไดอะเฟรมาของมันมีน้ำหนักเบามาก ระบบที่ประกอบด้วยลำโพง 2 ตัว หรือ 2 หน่วย ไดรฟ์เช่นนี้เรียกกว่าระบบลำโพง 2 ทาง และในระบบนี้ยังมีเน็ทเวิคกรองความถี่เพื่อให้แต่ละหน่วยไดรฟ์ได้รับความถี่อย่างถูกต้อง เน็ทเวิคกรองความถี่เช่นนี้เรียกว่า ครอสโอเวอร์เน็ทเวิค
หน่วยไดรฟ์เบส
การพิจารณาหน่วยไดรฟ์เบสหรือลำโพงให้เสียงต่ำโดยคิดกันว่ามีขนาดใหญ่เท่าใดก็ยิ่งดีเท่านั้นเดี๋ยวนี้ไม่ใช่สิ่งนำมาใช้สำหรับประเมินค่าระบบลำโพงสำหรับใช้ภายในบ้านอีกต่อไป แต่ก็ยังเป็นความจริงอยู่ว่า กรวยของลำโพงยิ่งมีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางขนาดใหญ่มากเท่าใดก็จะสามารถเคลื่อนที่ขับดันอากาศได้ปริมาณมากพอจนไเสียงเบสหนังๆ และผลเช่นนี้ก็จะได้จากการทำให้กรวยของลำโพง ขนาดเล็กกว่าแต่ทำให้มันเคลื่อนที่ผลักดันอากาศได้เท่าๆ กับกรวยลำโพงขนาดใหญ่ ตลอดช่วงเวลา 10 ปีที่ผ่านมาความก้าวหน้าในการสร้างหน่วยไดรฟ์เสียงเบสโดยใช้หน่วยไดรฟ์ขนาดเล็กลงมีความก้าวหน้าไปมากสามารถให้ความถี่ต่ำๆ ได้ดีเมื่อนำไปติดตั้งไว้ในตู้ที่เหมาะสม ในระบบลำโพง 2 ทางสำหรับใช้ภายในบ้านหน่วยไดรฟ์ที่ใช้กรวยลำโพงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 200 มม. ถือว่าเป็นขนาดมาตรฐานในปัจจุบัน
หน่ยทรีเบิ้ล
ในระบบลำโพงบางระบบหน่วยทรีเบิ้ลหรือทวีตเตอร์จะมองดูคล้ายๆ หน่วยเบส/มิดเรนจ์ขนาดเล็กๆ หน่วยทรีเบิ้ลมีกรวยกระดาษมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 30 50 มม. นอกจากนั้นยังมีการออกแบบทรีเบิ้ลให้มีรูปร่างแบบต่างๆ อีกหลายรูปแบบซึ่งมีการทำงานได้ดีกว่าทวีตเตอร์แบบกรวย แต่ในขณะเดียวกันก็มีลำโพงราคาถูกๆ อีกหลายชนิดซึ่งทวีตเตอร์จะมีขนาดคุณภาพดีกว่าลำโพงในเครื่องรับวิทยุทรานซิสเตอร์เพียงเล็กน้อยเท่านั้น โดยทำไว้มองดูสวยงามดี
หน่วยมิดเรนจ์
มีเหตุผลอยู่อย่างแน่ชัดว่าควรแบ่งระบบลำโพง 2 ทางออกไปอีก โดยเพิ่มหน่วยมิดเรนจ์ (Midrange Unit) เข้ามาอีกหน่วยหนึ่งกลายเป็นระบบลำโพง 3 ทางไป
ระบบลำโพง 3 ทางบางระบบใช้ไดรเวอร์มิดเรนจ์ชนิดโดม จึงมองดูเหมือย่าเป็นทวีตเตอร์ขนาดใหญ่ความจริงชื่อเรียกที่ถูกต้องของหน่วยมิดเรนจ์ควรเรีกยว่า สควอเกอร์ มากกว่า ซึ่งในบางกรณีก็นำเอาคำว่าสคอวเกอร์ไปอธิบายถึงคุณภาพของเสียงไม่ต้องสงสัยเลยว่าการออกแบบมิดเรนจ์ประเภทนี้เป็นเรื่องยากลำบากมาก และต้องใช้ครอสโอเวอร์เน็ทเวิคซับซ้อนมากมารวมไว้กับไดรเวอร์อีก 2 ตัว
ตัวอย่างของระบบลำโพง 3 ทางอีกแบบหนึ่งมีลักษณะใช้ระบบ 2 ทางขนาดเล็ก แต่เพิ่ม 4 หน่วยเบสขนาดใหญ่เพื่อคลุมความถี่ต่ำๆ ได้ต่ำกว่าการทำงานของหน่วยมิดเรนจ์ หน่วยนี้มักจะเรียกว่าหน่วยเบส/มิดเรนจ์
ซูเปอร์ทวีตเตอร์
ยังมีระบบ 3 ทางอีกระบบหนึ่งจัดสร้างโดย บริษัท Spendor BCI ระบบนี้ใช้ระบบ 2 ทางชั้นดี แต่เพิ่ม ซูเปอร์ทวีตเตอร์อีกตัวหนึ่ง ซูปเปอร์ตัวนี้มีขนาดเล็กกว่าหน่วยทรีเบิ้ลธรรมดาและให้การตอบสนองความถี่สูงมากคือสูงเกินกว่า 15 kHz